วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550

งานระดมสมอง(Brain Storming)เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายการเรียนรู้

1. นวัตกรรมการศึกษา
1.1 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
* นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์ Globalization มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.2 ประเภทของนวัตกรรม
*สื่อสิ่งประดิษฐ์
เช่น กล้องโทรทัศน์ หนังสือ คู่มือครู แบบเรียนโปรแกรม วิดิทัศน์ แผนการสอน ชุดการสอน ศูนย์การเรียน สื่อประสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เกม เพลง แบบฝึกต่างๆ เอกสารประกอบการสอน ใบความรู้ ใบงาน สไลด์ แผ่นโปร่งใส ข่าวหนังสือพิมพ์
*วิธีการหรือเทคนิค
เช่น วิธีทดลอง วิธีไตรสิกขา วิธีอริยสัจ ๔ วิธีสอนแบบโครงงานวิธีสอนแบบสหกิจวิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการ วิธีสอนแบบStoryline วิธีสอนแบบสากัจฉา วิธีสอนแบบดาว ๕ แฉก CIPPA Model, Mind Mapping วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ วิธีสอนแบบอภิปราย วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ การแสดงละครบทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง ทัศนศึกษา สอนซ่อมเสริม การสอนเป็นทีม การสอนตามสถาพจริง การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้จากชุมชนและธรรมชาติ วิธีสอนแบบซินดิเคท วิธีสอนแบบลีลาศึกษา วิธีสอนแบบลักศาสตร์ วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ วิธีสอนแบบวรรณี วิธีสอนแบบเรียนเพื่อรอบรู้ (Mastery Learning) วิธีสอนแบบอนุมาน วิธีสอนแบบวิพากษ์วิจารณ์ วิธีสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้(4 MAT System)
เป็นต้น
1.3 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม
มี 3 ขั้นตอน คือ
1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่(invention)
2. มีการพัฒนาปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการทดลองวิจัย(devellopment)
3. มีการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริงแต่ยังไม่แพร่หลาย(innovation
1.4 การยอมรับและปฏิเสธนวัตกรรม
1.4.1 ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ (awareness) เป็นขั้นแรกที่บุคคลรับรู้ว่ามีความคิดใหม่ สิ่งใหม่หรือวิธีปฏิบัติใหม่ๆ เกิดขึ้นแล้วนวัตกรรมมีอยู่จริง แต่ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดของสิ่งนั้นอยู่
1.4.2 ขั้นสนใจ (interest) เป็นขั้นที่บุคคลจะรู้สึกสนใจในนวัตกรรมนั้นทันทีที่เขาเห็นว่าตรงกับปัญหาที่เขาประสบอยู่ หรือตรงกับความสนใจ และจะเริ่มหาข้อเท็จจริงและข่าวสารมากขึ้น โดยอาจสอบถามจากเพื่อนซึ่งได้เคยทดลองทำมาแล้ว หรือเสาะหาความรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้นเพื่อสนองตอบความอยากรู้ของตนเอง
1.4.3 ขั้นประเมินผล (evaluation) ในขั้นตอนนี้บุคคลจะพิจารณาว่า นวัตกรรมนั้นจะมีความเหมาะสมกับเขาหรือไม่ จะให้ผลคุ้มค่าเพียงใด หลังจากที่ได้ศึกษานวัตกรรมนั้นมาระยะหนึ่งแล้ว นวัตกรรมนั้นมีความยากและข้อจำกัดสำหรับเขาเพียงใด และจะปรับให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างไร แล้วจึงตัดสินใจว่าจะทดลองใช้ความคิดใหม่ๆ นั้นหรือไม่
1.4.4 ขั้นทดลอง (trial) เป็นขั้นตอนที่บุคคลได้ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วและตัดสินใจที่จะทดลองปฏิบัติตามความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจทดลองเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด การทดลองปฏิบัตินี้เป็นเพียงการยอมรับนวัตกรรมชั่วคราว เพื่อดูผลว่าควรจะตัดสินใจยอมรับโดยถาวรหรือไม่
1.4.5 ขั้นยอมรับปฏิบัติ (adoption) ถ้าการทดลองของบุคคลได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ก็จะยอมรับความคิดใหม่ๆ อย่างเต็มที่และขยายการปฏิบัติออกไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งนวัตกรรมนั้นกลายเป็นวิธีการที่เขายึดถือปฏิบัติโดยถาวรต่อไป ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร
1.5 การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา
*ศูนย์การเรียน Learning Center เป็นระบบของการจัดการด้านสถานที่ เครื่องมือและสื่อต่างๆ ที่ได้รับการติดตั้งอย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ ในศูนย์การเรียนควรมีเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ทั้งหลายของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถยืมสื่อการศึกษาไปเรียนที่บ้าน เช่นเดียวกับการยืมหนังสือ
*การเปลี่ยนบทบาทของครู ปัจจุบันครูควรลดบทบาทให้เหลือน้อยที่สุด จากการสอนแบบบอกให้จด หรือบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เรียน เป็นผู้อำนวยการเรียน (facilitator) เป็นการให้นักเรียนเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนให้มากที่สุด โดยครูเป็นผู้วางแผนการสอนออกมาเป็นกิจกรรมการเรียน ให้นักเรียนเรียนเป็นกลุ่ม หรือเรียนด้วยตนเอง
*สื่อช่วยสอนที่ทันสมัย
-การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย
-เคเบิลทีวีใช้สอนสำหรับการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ซึ่งให้ความรู้เรื่องต่างๆ
-วิดีโอดิสก์ Video Disc (Video Disc) เป็นสื่อที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากมีขนาดเล็ก เก็บรักษาง่ายและให้คุณภาพดี
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.1 ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
*หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
2.2 ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.2.1แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ
2.2.2แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานา
2.2.3แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่
(2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
(2.2) สื่อกิจกรรม เช่น หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา เป็นต้น
2.3 ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษา
*ช่วยให้การศึกษาได้เกิดการพัฒนาผู้เรียนและผู้สอนได้เกิดการเรียนรู้
2.4 การนำแหล่ทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน
*การศึกษาผ่านดาวเทียมผู้เรียนจะเรียนผ่านทางสื่อโทรทัศน์เหมือมีครูผู้สอนในชั้นเรียน
3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
3.1 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
3.1.1 ฮาร์ดแวร์
3.1.2 ซอฟท์แวร์
-ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
3.1.3บุคลากร(people ware)
-ผู้จัดการระบบ (System Manager)
-นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
-โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
-ผู้ใช้ (User)
3.1.4 ข้อมูล(data)
3.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
*คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
3.4 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.4.1เพื่อการสอน (Tutorial Instruction)
3.4.2ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practive)
3.4.3ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation)
3.4.4ประเภทเกมการสอน (Instruction Games)
3.4.5ประเภทการค้นพบ (Discovery)
3.4.6ประเภทการแก้ปัญหา (Problem-Solving)
3.4.7ประเภทเพื่อการทดสอบ (Test)
3.5 ข้อดี ข้อจำกัด
*ข้อดี
-สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
-ดึงดูดความสนใน โดยใช้เทคนิคการนำเสนอกราฟิก
-ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจได้เร็ว
-ผู้เรียนมีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์
*ข้อจำกัด
-มีค่าใช้จ่ายสูง
-ผู้เรียนต้องมีความรู้ หรือการชำนาญการ
-การออกแบบสื่อทำได้ยาก และซับซ้อน
3.6 การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.6.1การออกแบบหน้าจอบทเรียน
3.6.2ออกแบบและสร้างบทเรียน
3.6.3ส่วนประกอยในการจัดทำสื่อ เช่น
-บทนำเรื่อง (Title)
-คำชี้แจงบทเรียน (Instruction)
-วัตถุประสงค์บทเรียน (Objective)
-แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre Test)
-เนื้อหาบทเรียน (Information)
-แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post Test)
-บทสรุป และการนำไปใช้งาน (Summary - Application)
3.7 การใช้และการประเมินผล
*ทดสอบก่อนเรียนว่าผู้เรียนมีความรู้หรือไม่ และทำการประเมินว่าผู้เรียน
มีความสามารถในการใช้ดี-ปานกลาง-ปรับปรุง-ใช้ไม่ได้
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
*หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
4.2 ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
*คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
-คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน
-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
*คอมพิวเตอร์นำเสนอ
*เว็บล็อค
*การสอนทางโทรศัพท์
*ห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์
4.3 ข้อดี-ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
*ข้อดี
-มีการเรียนรู้ที่กว้างขวาง
-ทำให้วิถีความเป็นอยู่สังคมเปลี่ยนไป
*ข้อจำกัด
-มีค่าใช้จ่ายสูง
-บุคคลากร
4.4 แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กบการศึกษา
-ศึกษาผ่านดาวเทียม
4.5 การประเมินผลการใช้งาน
*สร้างแบบประเมินผลหลังการทดลองใช้